Saturday, July 20, 2013

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับไฟฟ้าแรงสูง

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับไฟฟ้าแรงสูง

ไฟฟ้าแรงสูงคืออะไร

ไฟฟ้าแรงสูง คือ ระบบไฟฟ้าที่มีแรงดันไฟฟ้าระหว่างสายไฟฟ้าสูงเกินกว่า 1,000 โวลต์ขึ้นไป

ทำไมจึงต้องใช้ไฟฟ้าแรงสูง

ระบบ ไฟฟ้าที่มีแรงดันไฟฟ้าสูงจะสามารถส่งกระแสไฟฟ้าไปได้ในระยะทางที่ไกล และมีการสูญเสียทางไฟฟ้าต่ำกว่าระบบไฟฟ้าที่มีแรงดันไฟฟ้าต่ำ ดังนั้นการส่งกระแสไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพ จึงต้องส่งด้วยไฟฟ้าแรงสูงแทบทั้งสิ้น

ไฟฟ้าแรงสูงมีอันตรายอย่างไร

เนื่องจากไฟฟ้าแรงสูงมีแรงดันไฟฟ้าที่สูงมากเมื่อเทียบกับไฟฟ้าแรงต่ำที่ ใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าตามบ้านทั่วไป (220 โวลต์) ไฟฟ้าแรงสูงจึงสามารถที่จะกระโดดข้ามอากาศ หรือฉนวนไฟฟ้า เข้าหาวัตถุ หรือ สิ่งมีชีวิตได้ โดยไม่ต้องสัมผัสหรือแตะสายไฟ หากวัตถุนั้นอยู่ภายในระยะอันตราย ที่ไฟฟ้าแรงสูงสามารถกระโดดข้ามได้ ระยะอันตรายนี้ จะขึ้นอยู่กับระดับแรงดันไฟฟ้าของไฟฟ้าแรงสูง โดยแรงดันยิ่งสูง ระยะที่ไฟฟ้าสามารถกระโดดข้ามได ้ก็จะยิ่งไกล ไฟฟ้าแรงสูงจึงมีอันตรายมาก ซึ่งสถิติผู้ได้รับอันตรายจากไฟฟ้าแรงสูง ในเขตบริการของการไฟฟ้านครหลวงนั้น มีผู้เสียชีวิต บาดเจ็บ และทุพพลภาพ ประมาณปีละเกือบ 100 คน

เราจะทราบได้อย่างไรว่าสายไฟฟ้านั้นเป็นสายไฟฟ้าแรงสูง

เนื่องจากสายไฟฟ้าแรงสูงมีระยะอันตรายที่จะกระโดดข้ามได้ ดังนั้น จึงต้องมีการจับยึดสายไฟฟ้า ด้วยวัสดุที่เป็นฉนวนไฟฟ้า ในจำนวนที่พอเหมาะกับไฟฟ้าแรงสูงนั้น ฉนวนไฟฟ้าที่ใช้กันส่วนใหญ่ จะทำด้วยกระเบื้องเคลือบเป็นชั้น ๆ มีรูปร่างเหมือนชามคว่ำ ที่เรียกว่าลูกถ้วย ดังนั้นเราจึงสามารถสังเกตว่าเป็นสายไฟฟ้าแรงสูง ได้จากการยึดสายไฟฟ้าด้วยลูกถ้วยเป็นชั้น ๆ ซึ่งจำนวนชั้นของลูกถ้วย จะบ่งบอกถึงระดับแรงดันไฟฟ้า ของไฟฟ้าแรงสูงนั้น
วิธีสังเกตว่าเป็นไฟฟ้าแรงสูง อีกอย่างหนึ่ง ก็คือ ระดับความสูงของสายไฟ สายไฟฟ้าแรงสูง มักจะอยู่สูงจากพื้นดินตั้งแต่ 9 เมตรขึ้นไป สายไฟฟ้าที่อยู่สูงกว่า มักจะมีแรงดันไฟฟ้ามากกว่าสายไฟฟ้าที่อยู่ต่ำกว่า

สายไฟฟ้าแรงสูงจะมีฉนวนหุ้มอยู่หรือไม่

สายไฟฟ้าแรงสูงส่วนใหญ่ที่ใช้ส่งกระแสไฟฟ้าไปตามถนนหรือ ทุ่งนานั้น ส่วนใหญ่จะไม่มีฉนวนหุ้ม หรือหากมีฉนวนหุ้ม ก็จะหุ้มบางๆ ไว้เท่านั้น ซึ่งถือว่าไม่ปลอดภัยที่จะสัมผัสหรือแตะต้อง การหุ้มฉนวนที่ปลอดภัยนั้นจะต้องมีฉนวนที่หนา มีการพันทับด้วยสายชีลด์ (Shield) และมีเปลือกนอกอีกชั้นหนึ่ง ทำให้มีสายมีน้ำหนักมากจึงไม่สามารถพาดไปบนเสาไฟฟ้าทั่วไป

ระบบไฟฟ้าแรงสูงของการไฟฟ้านครหลวง มีระดับแรงดันไฟฟ้าเท่าใด

ระบบไฟฟ้าแรงสูงของการไฟฟ้านครหลวง ปัจจุบันจ่ายด้วยระบบแรงดันไฟฟ้าขนาดตั้งแต่ 12,000 โวลต์ ถึง 115,000 โวลต์ เป็นส่วนใหญ่ และมีการจ่ายด้วยระบบ 230,000 โวลต์อยู่บ้าง การเรียกระดับแรงดันไฟฟ้าของไฟฟ้าแรงสูงมักจะเรียกเป็นหน่วยของพันโวลต์ว่า เควี หรือกิโลโวลต์ เช่น 12,000 โวลต์ จะเรียกว่า 12 เควี หรือ12 กิโลโวลต์ เป็นต้น

การไฟฟ้านครหลวงมีการกำหนดมาตรฐานระยะห่างที่ปลอดภัยจากสายไฟฟ้าแรงสูงไว้อย่างไร

  • 1. ระยะห่างระหว่างสายกับ อาคาร/สิ่งปลูกสร้าง/ป้ายโฆษณามาตรฐานระยะห่างในแนวนอนที่ปลอดภัยระหว่าง อาคาร/สิ่งปลูกสร้าง หรือป้ายโฆษณากับสายไฟฟ้าแรงสูงมีการกำหนดไว้ดังนี้

    ขนาดแรงดันไฟฟ้า (โวลต์)ระยะห่างจากสายไฟฟ้าในแนวนอนไม่น้อยกว่า (เมตร)
    อาคาร/ระเบียงป้ายโฆษณา
    12,000 –24,0001.801.80
    69,0002.131.80
    115,0002.302.20
    230,0002.302.20

    หมายเหตุ ระยะดังกล่าวไม่ครอบคลุมการทำงานนอกตัวอาคาร หรือบนระเบียงเปิดที่อาจมีการยื่นวัตถุออกนอกตัวอาคาร ซึ่งจะต้องเป็นไปตามมาตรฐานระยะห่างที่ปลอดภัยสำหรับการทำงาน หรือจะต้องมีการหุ้มหรือคลุมสายเพื่อความปลอดภัย
  • 2. ระยะห่างระหว่างสายกับผู้ปฏิบัติงาน/เครื่องมือกลมาตรฐาน ระยะห่างที่ปลอดภัยของการทำงานใกล้สายไฟฟ้าแรงสูงสำหรับบุคคลหรือผู้ที่ ปฏิบัติงานรวมถึงอุปกรณ์หรือเครื่องมือกลทุกชนิด เช่น ปั้นจั่นรถเครน หรือวัตถุที่ถืออยู่ในมือ จะต้องอยู่ห่างจากส่วนที่มีไฟฟ้าแรงสูงไม่น้อยกว่าระยะดังต่อไปนี้

    ขนาดแรงดันไฟฟ้า (โวลต์)ระยะห่างที่ปลอดภัย (เมตร)
    12,000 - 69,0003.05
    115,0003.20
    230,0003.90

    หมายเหตุ

    • 1. สายไฟฟ้าบางชนิดที่มีการหุ้มฉนวนเป็นพิเศษอาจมีระยะห่างต่ำกว่ามาตรฐานได้ ขอให้ปรึกษาการไฟฟ้านครหลวง
    • 2. หากบริเวณที่ต้องการปฏิบัติงานมีระยะห่างที่ต่ำกว่ามาตรฐานจะต้องแจ้งให้การไฟฟ้านครหลวงดำเนินการหุ้มหรือ คลุมสายก่อนลงมือทำงาน
ที่มา : การไฟฟ้านครหลวง

Sunday, July 14, 2013

พิธีการขึ้นเสาเอก สำหรับบ้านและอาคารทั่วไป

พิธีการขึ้นเสาเอก สำหรับบ้านและอาคารทั่วไป 


ตั้งใจจะเขียนมานานแล้วครับ พอดีในช่วงวันหยุดนี้ ว่างพอที่จะมานั่งเขียนแนะนำให้เพื่อนๆ สำหรับคนที่กำลังจะทำการปลูกสร้างบ้าน หรือเป็นความรู้สำหรับคนทั่วไปครับ และโดยเฉพาะคนที่กำลังจะทำพิธีขึ้นเสาเอกในช่วงนี้ 


พิธีการขึ้นเสาเอก 


๑. เพื่อความเป็นศิริมงคลของบ้าน และคนที่อยู่อาศัยในบ้าน ทั้งนี้เพราะ เป็นการบอกกล่าว และขอขมาต่อเจ้าที่ เจ้าทาง เจ้าแม่ธรณี ที่เรามารบกวน ขอพื้นที่ปลูกสร้างบ้าน และขอความเป็นศิริมงคล แก่ผู้อยู่อาศัย 


๒. เพื่อให้การก่อสร้างบ้านและอาคารนั้น สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี เนื่องจากเมื่อทำพิธีไปแล้ว ช่างและคนงานก่อสร้าง ก็จะมีความมั่นใจ และสามารถทำงานได้เต็มที่ โดยทั่วไป แม้จะไม่มีพิธีการทำเสาเอก ช่างและคนงานก่อสร้างก็มักจะมีการขึ้นโต๊ะทำพิธีขอขมาต่อเจ้าที่เจ้าทางต่างๆเองอยู่แล้ว แต่เมื่อมีการทำพิธีขึ้นเสาเอกด้วย ก็จะยิ่งมีความมั่นใจมากขึ้น 


๓. ในการทำพิธีมีเกร็ดและพิธีกรรมต่างๆ ซึ่งถือว่าเป็นมงคล และบางสถานที่ ก็อาจมีการเชิญพราหมณ์ หรือเชิญพระมาช่วยดำเนินการให้ด้วย จึงถือเป็นพิธีที่มีความศักดิ์สิทธิ์และมีความหมายมาก 


๔. หาฤกษ์ขึ้นเสาเอก ทั้งนี้อาจกำหนดว่าจะปลูกในเดือนใด ก็ติดต่อผู้รู้เพื่อขอฤกษ์ในการทำพิธี ซึ่งโดยปกติ ฤกษ์นั้น จะต้องนำวันเดือนปีเกิด ของเจ้าบ้าน ไปทำการตรวจเช็ค และหาวัน และเวลาที่เป็นมหามงคลให้ พร้อมทั้งกำหนดตำแหน่งของเสา ที่จะทำพิธีเสาเอก ซึ่งเมื่อได้มาแล้ว ก็เตรียมหาของในการทำพิธี และอาจให้ผู้รับเหมาช่วยจัดหาให้ ด้วยดังนี้ 


๕. การเตรียมพิธีขึ้นเสาเอก ทางผู้รับเหมา ต้องทำการตอกเสาเข็มแล้วเสร็จทั้งหมดก่อน แต่ถ้าฤกษ์รอไม่ได้ ก็ต้องตอกเสาเข็มในหลุมของเสาเอกนั้นให้เสร็จเรียบร้อยก่อน 


๖. ทางผู้รับเหมา ต้องทำการขุดหลุมเสาเอก และปรับระดับดินให้เรียบร้อย เพื่อเตรียมทำพิธี และผูกโครงสร้างเหล็กของเสาเอกต้นนั้นให้เสร็จก่อน โดยให้ใช้เหล็กที่มีความสุงจากส่วนของฐานราก ขึ้นมาถึงพื้นชั้นสอง ซึ่งโดยปกติ จะมีความยาว ตั้งแต่สามเมตรขึ้นไป แล้วรอไว้ ซึ่งขั้นตอนนี้ อย่างน้อยต้องทำเสร็จเรียบร้อยก่อนทำพิธีหนึ่งวัน 


๗. ของมงคลที่เจ้าของบ้านต้องจัดหา หรือให้ผู้รับเหมาจัดหาให้ มีดังนี้ครับ (หาได้เท่าไหร่ก็เท่านั้นครับ แต่ถ้าหาได้ครบก็ดีมากครับ) 


- เหรียญทอง เงิน อย่างละ ๙ เหรียญ 

- ทรายเสก ๑ ขัน 
- น้ำมนต์ ๑ ขัน (พร้อมกำหญ้าคา ๑ กำ) 
- ด้ายสายสิญจน์ ๑ ม้วนเล็ก 
- ทองคำเปลว ๓ แผ่น 
- ผ้าแพรสีแดง หรือสามสี ห่มเสา หรือผ้าขาวม้า ๑ ผืน v - หน่อกล้วย อ้อย อย่างละ ๑ หน่อ 
- ไม้มงคล ๙ ชนิด (ถ้าประสงค์ ) 
- แผ่นทอง นาก เงิน อย่างละ ๑ แผ่น 
- ข้าวตอกดอกไม้ ๑ ขัน 

๘. ให้นำหน่อกล้วย และอ้อย อย่างละหน่อ พร้อมผ้าสามสี และหรือผ้าขาวม้า มาผูกติดกับเสาเหล็กต้นที่จะทำพิธีขึ้นเสาเอก ซึ่งอาจให้ช่างหรือคนงานเป้นคนจัดการให้ แต่บางที่เจ้าของบ้านก็จะทำการผูกเองขั้นต้นเพื่อความเป็นมงคล ซึ่งต้องผูกให้เสร็จเรียบร้อยก่อนฤกษ์ขึ้นเสาเอก ไม่งั้นจะไม่ทัน 


หลังจากนี้ จะเป็นพิธีที่จะทำในวันขึ้นเสาเอก ซึ่งเราอาจเชิญพราหมณ์มาทำพิธีให้ ซึ่งเราก็เพียงตั้งโตะรอ ของพิธีในส่วของพราหมณ์ ท่านจะนำมาเอง หรือเราอาจเชิญพระที่วัดใกล้บ้านมาช่วยทำพิธี ซึ่งถ้าเชิญพระมา เราต้องตั้งโต๊ะ และจัด จตุปัจจัยไทยธรรมถวายพระ 1 ชุด และอาจจัดหาอาหารสำหรับฉันท์กอนเพล แจ้งให้ท่านทราบ 


หรืออาจให้ผู้ใหญ่ที่เรานับถือมาเป็นประธานในพิธี ก็ได้ หรือตัวเจ้าของบ้านเองเป็นหลัก และผู้อยู่อาศัย ถ้าครบทุกคนก็จะดีมากครับ

ลำดับพิธี 

๑. วางสายสิญจน์ เริ่มจากโต๊ะบูชาไปบริเวณสถานที่ก่อสร้างเข้าสู่เสาเอก (ก่อนเวลาฤกษ์พอสมควร) 


๒. เจ้าภาพจุดเทียนธูปที่โต๊ะหมู่บูชา อธิษฐานเพื่อเกิดสิริมงคล กราบพระ 


๓. ไปที่หลุมเสาเอก เจ้าภาพตอกไม้มงคล ๙ ชนิด ลงไปในหลุม 


๔. วางแผ่นทอง นาก เงินในหลุมเสาเอก 


๕. นำใบทอง นาก เงิน และเหรียญทอง เงิน ลงก้นหลุมแล้ว 


๖. นิมนต์พระสงฆ์ประพรมน้ำมนต์ โปรยทรายเสกที่หลุมเสา เจิมและปิดทองเสาเอก ซึ่งเราผูกหน่อกล้วย อ้อย และผ้าสีแดงหรือผ้าขาวม้าที่เสาเอก เรียบร้อยแล้ว 


๗. ถือด้ายสายสิญจน์ พร้อมทั้งญาติมิตรผู้ร่วมพิธี 

ช่าง ช่วยกันยกเสาเอก จนตั้งเรียบร้อย (ขณะยกเสานั้นพระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถา) 

๘. เจ้าภาพโปรยข้าวตอกดอกไม้ลงหลุมเสาเอก พร้อมทั้งญาติมิตรผู้ร่วมพิธี 


๙. เจ้าภาพ อาจเตรียมเหรียญไว้จำนวนหนึ่ง ซึ่งเมื่อผ่านพิธีแล้ว ให้ทำการโปรยไปรอบบ้าน เพื่อให้คนทั่วไปเก็บไปเป็นเงินก้นถุง เพื่อความเป็นศิริมงคล 


๑๐. ช่างและคนงานจะทำการตีไม้รัดเสาเอกที่หลุม ตืแบบให้เรียบร้อยแล้วผสมปูนหรือคอนกรีต เพื่อทำการเทคอนกรีตหลุมเสาเอก โดยให้เจ้าของบ้าน เจ้าภาพ หรือผู้ใหญ่ที่นับถือ เป็นคนเทถังแรก ลงไปในหลุม และคนในบ้านช่วยกันอีกในถังต่อมา หลังจากนั้นให้ช่างและคนงาน เทต่อจนเสร็จ และปาดปูนให้เรียบร้อย เป็นอันเสร็จพิธี 


ซึ่งในพิธีของทางพราหมณ์ อาจมีลำดับขั้นตอนที่เพิ่มหรือเปลี่ยนแปลงจากนี้ โดยให้ทางพราหมณ์เป็นผู้กำหนด 


ของที่ใส่ลงไปในหลุม สามารถหาซื้อได้ที่ร้านขายเครื่องสังฆภัณฑ์ทั่วไปครับ หาให้ครบที่สุดครับ หรือถ้ามีพิธีทางจีนด้วย อาจมีของมงคลเพิ่มเติมจากนี้ได้ครับ 


หวังว่าจะมีประโยชน์ต่อผู้สนใจนะครับ 


ขอขอบคุณภาพประกอบนะครับ ผมเซฟไว้นานแล้ว จำแหล่งที่มาไม่ได้ ต้องขอโทษด้วยครับ และขออนุญาตนำมาเผยแพร่นะครับ


Wednesday, July 10, 2013

ระบบไฟฟ้า 1 เฟส 3 เฟส ต่างกันอย่างไร

ระบบไฟฟ้า หมายถึงลักษณะการส่งจ่ายกระแสไฟฟ้าจากแหล่งกำนิดไปยังผู้ใช้ไฟฟ้า ตามประเภทการใช้งาน โดยส่งจากสถานีไฟฟ้าผ่านสายไฟฟ้าแรงสูง สถานีไฟฟ้าย่อย หม้อแปลงแปลงไฟฟ้าให้ต่ำลง ไปยังบ้านพักอาศัย สำนักงาน หรือโรงงานอุตสาหกรรม
สำหรับกระแสไฟฟ้าที่ไหลเข้าสู่บ้านเรือนทั่วไปนั้นก็ใช้หลักการไหลแบบเดียวกัน คือ เริ่มจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ณ โรงงานผลิตไฟฟ้า ผ่านกระแสไฟฟ้าแรงดันสูงมาตามสายไฟฟ้า (ซึ่งประกอบด้วยเส้นลวดอลูมิเนียมจำนวนมากมาจนกระทั่งถึงสถานีไฟฟ้าย่อยซึ่งมีหม้อแปลงแรงดันไฟฟ้าให้สูงขี้นหรือต่ำลงได้ตามความต้องการใช้งาน ทั้งนี้เนื่องจากการส่งกระแสไฟฟ้าได้ผ่านมาตามสายไฟฟ้าในระยะทางไกล จะทำให้มีการสูญเสียแรงดันไฟฟ้าส่วนหนึ่ง เมื่อส่งไฟฟ้ามาถึงพื้นที่ที่ต้องการใช้ไฟฟ้าก็จะต้องลดแรงดันไฟฟ้าลงระดับหนึ่งเพื่อลดอันตราย เมื่อแปลงแรงดันไฟฟ้าให้พอเหมาะแล้วก็จะส่งตามสายไฟฟ้ามายังหม้อแปลงแรงดันไฟฟ้าที่ติดอยู่ตามเสาไฟฟ้าในแหล่งชุมชนนั้นๆ เพื่อแปลงแรงดันไฟฟ้าอีกครั้งก่อนส่งผ่านเข้าสู่อาคารบ้านเรือน เมื่อมีการใช้ไฟฟ้าจากกิจกรรมต่างๆ ในอาคารบ้านเรือนก็จะไหลกลับไปตามสายไฟฟ้าอีกเส้นหนึ่งสู่แหล่งกำเนิดอีกครั้ง ซึ่งเท่ากับว่าเป็นการครบวงจรการไหลของกระแสไฟฟ้า
ระบบไฟฟ้าที่การไฟฟ้าฯส่งจ่ายไปยังบ้านเรือนทั่วไปเรียกว่าระบบไฟฟ้าแรงดันต่ำ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ระบบด้วยกัน ในการใช้งานนั้นการไฟฟ้าฯจะพิจารณาให้เหมาะสมตามความต้องการของผู้ใช้ไฟฟ้าว่าจะใช้ระบบใด โดยพิจารณาจากปัจจัยสำคัญ 2 ประการ คือ ปริมาณการใช้ไฟฟ้า ประเภทและจำนวนของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้ภายในบ้าน

ระบบไฟฟ้าแบ่งออกได้เป็น 2 ระบบ ดังนี้

1. ระบบไฟฟ้า 1 เฟส คือระบบไฟฟ้าที่มีสายไฟฟ้าจำนวน 2 เส้น เส้นที่มีไฟเรียกว่าสายไฟหรือสายเฟส หรือสายไลน์ เขียนแทนด้วยตัวอักษร L (Line) เส้นที่ไม่มีไฟเรียกว่าสายนิวทรอล หรือสายศูนย์ เขียนแทนด้วยตัวอักษร N (Neutral) ทดสอบได้โดยใช้ไขควงวัดไฟ เมื่อใช้ไขควงวัดไฟแตะสายเฟส หรือสายไฟ หรือสายไลน์ หลอดไฟเรืองแสงที่อยู่ภายไขควงจะติด สำหรับสายนิวทรอล หรือสายศูนย์ จะไม่ติด แรงดันไฟฟ้าที่ใช้มีขนาด 220 โวลท์ (Volt) ใช้สำหรับบ้านพักอาศัยทั่วไปที่มีการใช้ไฟฟ้าไม่มากนัก
2. ระบบไฟฟ้า 3 เฟส คือระบบไฟฟ้าที่มีสายเส้นไฟจำนวน 3 เส้น และสายนิวทรอล 1 เส้น จึงมีสายรวม 4 เส้น ระบบไฟฟ้า 3 เฟส สามารถต่อใช้งานเป็นระบบไฟฟ้า 1 เฟส ได้ โดยการต่อจากเฟสใดเฟสหนึ่งและสายนิวทรอลอีกเส้นหนึ่ง แรงดันไฟฟ้าระหว่างสายเฟสเส้นใดเส้นหนึ่งกับสายนิวทรอลมีค่า 220 โวลท์ และแรงดันไฟฟ้าระหว่างสายเฟสด้วยกันมีค่า 380 โวลท์ ระบบนี้จึงเรียกว่าระบบไฟฟ้า 3 เฟส 4 สาย 220/380 โวลท์ ระบบนี้มีข้อดีคือสามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าได้มากกว่าระบบ 1 เฟส ถึง3 เท่า จึงเหมาะสมกับสถานที่ที่ต้องการใช้ไฟฟ้ามากๆ เช่น อาคารพาณิชย์ โรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็ก เป็นต้น

เรียบเรียงจากหนังสือคู่มือช่างไฟฟ้าในบ้าน

Monday, July 8, 2013

การขอใช้ไฟใหม่, ขอไฟใหม่, หลักเกณฑ์ขอไฟ, เพิ่มขนาด, เพิ่มขนาดมิเตอร์, โอนเปลี่ยนชื่อผู้ใช้ไฟฟ้า

การขอติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้าใหม่
หลักฐาน
1.  สำเนาทะเบียนบ้านที่ขอติดตั้งการใช้ไฟฟ้า
2.  สำเนาทะเบียนบ้านที่อยู่ปัจจุบัน
3.  สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
4.  สัญญาซื้อขาย (กรณีซื้อขายบ้าน) , สัญญาเช่า (กรณีเช่าบ้าน)
5.  หนังสือมอบอำนาจพร้อมติดอากรแสตมป์ 10 บาท (กรณีเจ้าของบ้านไม่มาดำเนินการ)
6.  สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้รับมอบอำนาจ
7.  สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านผู้ให้เช่า
8.  ใบยินยอมผ่านที่หรือใบยินยอมในกรณีต่างๆ (กรณีผ่านที่ดินผู้อื่น) , สำเนาบัตรประชาชนและทะเบียนบ้านขอผู้ยินยอม
9.  ใบเสร็จค่าไฟฟ้าข้างเคียงของเสาที่จะติดตั้งมิเตอร์ (ถ้ามี)


การขอติดตั้งมิเตอร์ชั่วคราว (ใช้ในการก่อสร้าง,ปรับปรุงบ้าน)

หลักฐาน
1.  สำเนาทะเบียนบ้านที่อยู่ปัจจุบัน
2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
3.  สำเนาใบอนุญาตก่อสร้าง (ถ้ายังไม่ได้ให้ถ่ายใบคำขอมาแทน)
4. โฉนดที่ดินสถานที่ขอใช้ไฟ
5.  หนังสือมอบอำนาจพร้อมติดอากรแสตมป์ 10 บาท (กรณีผู้ขอไม่มาดำเนินการ)
6. สำเนาบัตรประชาชนและทะเบียนบ้านของผู้รับมอบอำนาจ
  หมายเหตุ  การขอมิเตอร์ชั่วคราวต้องเตรียมสายไฟฟ้าและคัทเอ้าท์หรือเบรกเกอร์ตามขนาดมิเตอร์มาในวันชำระเงินด้วย


การขอเพิ่มขนาดมิเตอร์ไฟฟ้า

หลักฐาน
1.  ใบเสร็จค่าไฟฟ้าเดือนสุดท้าย
2.  สำเนาทะเบียนบ้านหลังที่ทำการเพิ่มขนาด
3. สำเนาบัตรประชาชนเจ้าของบ้าน
4.  สำเนาทะเบียนบ้านที่อยู่ปัจจุบันของเจ้าของ
5.  หนังสือมอบอำนาจพร้อมติดอากรแสตมป์ 10 บาท (กรณีเจ้าของบ้านไม่มาดำเนินการ)
6.  สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้รับมอบอำนาจ
7.  สัญญาซื้อขาย (กรณีเจ้าของไม่ได้เป็นเจ้าบ้าน)

การขอโอนเปลี่ยนชื่อผู้ใช้ไฟฟ้า

หลักฐาน
1.  สำเนาทะเบียนบ้านที่ติดตั้งการใช้มิเตอร์ไฟฟ้า
2.  สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านผู้รับโอน อย่างละ 1 ฉบับ
3.  สำเนาสัญญาซื้อขาย (กรณีซื้อขายบ้าน)
4.  สำเนาสัญญาเช่า (กรณีเช่าบ้าน) และสำเนาบัตรประชาชนและทะเบียนบ้านของผู้ให้เช่า
5.  สำเนาใบมรณะบัตร (กรณีผู้ใช้ไฟเสียชีวิต) และสำเนาใบจัดการมรดก
6.  สำเนาเอกสารการเปลี่ยนชื่อตัว – ชื่อสกุล (กรณีเปลี่ยนชื่อ-สกุล)
7.  หนังสือมอบอำนาจพร้อมติดอากรแสตมป์ 10 บาท (กรณีผู้โอนไม่มาดำเนินการ)
8.  สำเนาบัตรประชาชนและทะเบียนบ้านของผู้รับมอบอำนาจ
9.  ใบเสร็จค่าไฟฟ้าเดือนสุดท้ายหรือเดือนไหนก็ได้
10. เงินค่าประกันตามขนาดมิเตอร์
* ถ้าต้องการใช้ไฟที่มีขนาดมากกว่า 30(100) แอมป์ 3 เฟส 4 สาย ต้องขอขยายเขตติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้า *

คลิ๊กขั้นตอนการขอขยายเขตระบบจำหน่ายแรงสูงและติดตั้งหม้อแปลง 

หรือสามารถดาว์นโหลด หลักเกณฑ์การขอใช้ไฟฉบับย่อได้ ที่นี่
ดาว์นโหลดแบบฟอร์มการร้องขอได้  ที่นี่
สำหรับผู้ใช้ไฟ ไม่ได้ติดต่อด้วยตนเองสามารถดาว์นโหลดหนังสือมอบอำนาจ ได้ที่นี่ หนังสือมอบอำนาจ (664)
การให้บริการแบบ One Touch Service ของ PEA Omnoi

ระบบไฟฟ้า 3 เฟสเพื่อการประหยัดค่าไฟฟ้า

ระบบไฟฟ้า 3 เฟสเพื่อการประหยัดค่าไฟฟ้า
ระบบไฟฟ้าที่ใช้กันทั่วไปตามบ้าน หลอดไฟและอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าโดยทั่วไปในบ้านเราใช้ไฟฟ้ากระแส สลับระบบ 1 เฟส ( 1- phase ) 2 สาย แรงดัน 220 โวลต์ ความถี่ 50 เฮิรตซ์ โดยสาย ไฟ 2 สายที่ใช้กันตามบ้านนี้ สายหนึ่งจะมีกระแสไฟฟ้าไหลอยู่หรือเรียกว่าสายเคอร์เรนต์ ( current line ) ส่วนอีกสายหนึ่งจะเป็นสายที่เดินไว้เฉยๆ ไม่มีกระแสไฟฟ้าไหลอยู่หรือเรียกว่า สายนิวทรัล ( neutral line ) ดังจะเห็นได้จากปลั๊กไฟตามบ้านที่เห็นมีช่องเสียบอยู่ 2 ช่องนั้น ถ้าเอาไขควงสำหรับตรวจกระแสไฟฟ้าลองวัดดูจะเห็นได้ว่าช่องหนึ่งจะมีไฟแดงปรากฏ แสดงว่าไม่ มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน แต่เมื่อเวลาใช้งานกับหลอดไฟหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าจำเป็นต้องใช้ร่วมกันทั้ง 2 สายเพื่อให้กระแสไฟฟ้าครบวงจรส่วนบางแห่งที่เห็นปลั๊กไฟมี 3 ช่องนั้นยังเป็นระบบไฟฟ้า แบบ 1 เฟสเหมือนกันแต่ช่องที่เพิ่มขึ้นมานั้นเป็นช่องที่ต่อกับสายดิน ( ground ) เพื่อให้กระแส ไฟฟ้าไหลลงดินเวลาเกิดไฟรั่วเป็นการเพิ่มความปลอดภัย และปลั๊กของอุปกรณ์ไฟฟ้าที่จะใช้กับ ระบบสายดินนี้จะเป็นปลั๊กแบบ 3 ขาซึ่งในต่างประเทศถือเป็นระบบมาตรฐานที่ใช้กันทั่วไป

ระบบไฟฟ้า 3 เฟสเป็นระบบไฟฟ้ากระแสสลับ 3 เฟส ( 3 - phase ) 4 สาย แรงดัน 380 โวลต์ ความถี่ 50 เฮิรตซ์ โดยที่ 3 สายจะเป็นสายที่มี กระแสไฟฟ้าไหลผ่าน โดยทั่วไประบบไฟฟ้า 3 เฟสเป็นระบบที่ไฟฟ้าที่ใช้กับเครื่องจักรต่างๆใน โรงงานอุตสาหกรรมเป็นส่วนใหญ่ เพราะเครื่องจักรเหล่านี้มักมีขนาดใหญ่จึงต้องการแรงดันไฟฟ้าที่สูง ไฟฟ้าระบบนี้ไม่สามารถนำมาใช้กับระบบแสงสว่างหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าตามบ้านได้โดยตรง มาถึงตรงนี้ หลายคนคงจะสงสัยว่าเมื่อระบบไฟฟ้า 3 เฟสไม่สามารถนำมาใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆตามบ้านได้ โดยตรงแล้วจะเอามาแนะนำกันเพื่ออะไร ข้อสงสัยนี้สามารถอธิบายได้โดยไม่ยาก กล่าวคือ การนำ ระบบไฟฟ้า 3 เฟสเข้ามาใช้ในบ้านนั้นมิได้เป็นการใช้ไฟฟ้าทั้ง 3 เฟสกับอุปกรณ์ไฟฟ้าแต่ละชิ้นโดย ตรง แต่เป็นการนำไฟฟ้า 3 เฟสนั้นมาแบ่งแยกให้เป็นระบบไฟฟ้า 1 เฟส 3 ชุด แล้วกระจายไป ตามจุดต่างๆที่มีการใช้ไฟฟ้า การกระจายจุดของการใช้งานเช่นนี้ทำให้ไฟฟ้าแต่ละเฟสไม่ถูกใช้งานมาก ถือเป็นการเฉลี่ยการใช้ไฟฟ้า ทำให้ประหยัดค่าไฟฟ้า เพราะการคิดอัตราค่าใช้ไฟฟ้าซึ่งมีหน่วยเป็น กิโลวัตต์ - ชั่วโมงจะคิดเป็นอัตราก้าวหน้า กล่าวคือยิ่งมีการใช้ไฟฟ้ามากก็จะยิ่งเสียค่าไฟฟ้าในอัตรา ที่สูงขึ้น ฉะนั้นการกระจาย การใช้ไฟฟ้าออกเป็น 3 ส่วนจากระบบไฟฟ้าที่นำเข้า 3 เฟสดังกล่าว จึงทำให้การใช้ไฟฟ้าในแต่ละส่วนหรือแต่ละเฟสน้อยลง จึงไม่ต้องเสียค่าไฟฟ้าในอัตราที่สูง


การนำระบบไฟฟ้า 3 เฟสมาใช้นั้นจะเสียค่าใช้จ่ายในตอนต้นค่อนข้างสูง เช่น ค่าติดตั้ง ค่าประกันการใช้ไฟฟ้า แต่สามารถประหยัดค่าใช้ไฟฟ้าได้ในระยะยาวฉะนั้นบ้านหรืออาคารที่ติดตั้ง ระบบไฟฟ้าดังกล่าวจึงควรเป็นบ้านหรืออาคารที่ค่อนข้างใหญ่ มีการใช้ไฟฟ้าหลายจุดและเป็นปริมาณ มากจึงจะคุ้ม ถ้าเป็นบ้านหรืออาคารที่มีขนาดเล็กและมีปริมาณการใช้ไฟฟ้าไม่มากควรติดตั้งระบบ ไฟฟ้าเฟสเดียวก็เพียงพอ


อย่างไรก็ตาม การเลือกว่าจะใช้ไฟฟ้าระบบไหนและใช้มิเตอร์ไฟฟ้าขนาดเท่าใดนั้นจำเป็น จะต้องปรึกษาผู้มีความรู้ทางด้านนี้โดยตรง ซึ่งอาจจะเป็นวิศวกรไฟฟ้า ผู้รับเหมา หรือช่างไฟฟ้า โดยที่เจ้าของบ้านเองก็ต้องวางแผนเกี่ยวกับปริมาณไฟฟ้าที่ต้องใช้เอาไว้ว่าต้องการใช้ไฟฟ้ามากน้อย แค่ไหน โดยอาจจะปริมาณจากจำนวนดวงไฟ รวมทั้งประเภทและจำนวนของอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ที่คาดว่าต้องการจะใช้ เพื่อ จะได้เลือกระบบไฟฟ้าและขนาดของมิเตอร์ไฟฟ้าที่จะติดตั้งได้อย่างถูก ต้องเหมาะสม


โดยปกติขนาดของมิเตอร์ไฟฟ้าที่จะขอติดตั้งได้จะมีขนาด 5(15) , 15(45) ,30(100) และ 50(150) แอมแปร์ ซึ่งเป็นระบบไฟฟ้าเฟสเดียว ตัวเลขที่อยู่ด้านซ้ายนอกวงเล็บหมายถึงกระแส ไฟฟ้าปกติสำหรับการใช้งานของระบบไฟฟ้าขนาดนั้นๆ ส่วนตัวเลขด้านขวาที่อยู่ภายในวงเล็บ หมายถึงกระแสไฟฟ้าสูงสุดที่ระบบไฟฟ้าสามารถทนได้ เช่น มอเตอร์ไฟฟ้าขนาด 15(45) แอมแปร์ หมายความว่าขนาดของระบบไฟฟ้าที่ติดตั้งไว้สามารถรองรับการใช้งานของอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ โดย รวมได้ 15 แอมแปร์อย่างปลอดภัยภายใต้สภาวะการใช้งานตามปกติ แต่จะสามารถทนกระแส ไฟฟ้าสูงสุดได้ถึง 45 แอมแปร์ในบางครั้งบางคราวเป็นระยะเวลาสั้นๆ เช่น ในขณะที่เปิดเครื่อง ปรับอากาศใหม่ๆ เครื่องปรับอากาศจะกินกระแสไฟฟ้ามากกว่าปกติ ถึงแม้ว่ากระแสไฟฟ้าที่ใช้โดย รวมในช่วงเวลานั้นอาจจะสูงเกินกว่าระดับปกติบ้าง แต่ถ้าเป็นเพียงระยะเวลาสั้นๆ ก็จะไม่ก่อให้เกิด ปัญหาต่อระบบไฟฟ้าหรือการใช้ไฟฟ้าแต่ประการใด โดยปกติถ้าเป็นบ้านขนาดเล็กที่มีการติดตั้ง ดวงไฟและปลั๊กไฟเพียงไม่กี่จุดอาจใช้มิเตอร์ไฟฟ้าขนาดแค่ 15(15) แอมแปร์ก็เพียงพอ ถ้ามี เครื่องปรับอากาศ 1-2 เครื่องก็อาจใช้มิเตอร์ไฟฟ้าขนาด 15(45) แอมแปร์ แต่ถ้าเป็นบ้านที่มีการ ใช้ไฟฟ้ามาก เช่น มีการติดตั้งเครื่องปรับอากาศหลายเครื่องก็อาจจะต้องใช้ มิเตอร์ไฟฟ้าขนาด 50(150) แอมแปร์ หรือบ้านที่มีปริมาณการใช้ไฟฟ้ามากขึ้นไปอีกก็ควรจะพิจารณาขอติดตั้งระบบ ไฟฟ้า 3 เฟส ซึ่งระบบดังกล่าวจะทำให้ได้ไฟฟ้าที่มีขนาดเป็น 3 เท่าของไฟฟ้าระบบเฟสเดียวตาม ขนาดตัวเลขแอมแปร์ข้างต้น หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือเทียบเท่ากับได้ระบบไฟฟ้าเฟสเดียวตามขนาดตัว เลขแอมแปร์ข้างต้นเป็นจำนวน 3 ชุดนั่นเอง เช่น ถ้าติดตั้งระบบไฟฟ้า 3 เฟส 4 สาย 30(100) แอมแปร์ 380 โวลต์ 1 ชุด ก็เทียบเท่ากับติดตั้งระบบไฟฟ้า 1 เฟส 2 สาย 30(100) แอมแปร์ 220 โวลต์ 3 ชุดนั่นเอง 



จากตัวอย่างและข้อเปรียบเทียบต่างๆ ข้างต้นอาจเห็นได้ว่าการเลือกระบบและขนาด ของมิเตอร์ไฟฟ้าที่จะใช้อาจมีทางเลือกหลายอย่าง โดยที่ทำให้ได้ขนาดของไฟฟ้าที่สามารถนำไป ใช้งานได้ใกล้เคียงเช่น ถ้าติดตั้งระบบไฟฟ้า 3 เฟส 4 สาย ขนาด 15(45) แอมแปร์ 380 โวลต์ จะได้ขนาดของไฟฟ้าใกล้เคียงกับการติดตั้งระบบไฟฟ้า 1 เฟส 2 สาย ขนาด 50(150) แอมแปร์ 220 โวลต์ เพียงแต่การขอระบบไฟฟ้า 3 เฟสนั้นจะมีขั้นตอนที่ยุ่งยากและเสียค่า ใช้จ่ายสูงกว่าในตอนต้น แต่จะประหยัดค่าไฟฟ้าในระยะยาว ในขณะที่การขอระบบไฟฟ้าเฟส เดียวจะสะดวกและเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าในตอนต้น แต่จะสิ้นเปลืองค่าไฟฟ้ามากกว่าในระยะยาว โดยทั่วไปถ้าไม่มีการกำหนดหรือระบุถึงความต้องการเป็นกรณีพิเศษแล้วผู้รับเหมาก่อสร้างหรือช่าง ไฟฟ้าก็มักจะขอติดตั้งระบบไฟฟ้า เฟสเดียวให้โดยไม่คำนึงถึงว่าบ้านนั้นจะมีปริมาณการใช้ไฟฟ้ามาก หรือน้อยเพียงใด เพราะเป็นการสะดวกและประหยัดในตอนต้น ฉะนั้นถ้าผู้ใดที่กำลังปลูกบ้านและ เห็นว่าการใช้ระบบไฟฟ้า 3 เฟสจะเป็นประโยชน์และเป็นผลดีต่อไปก็ควรจะกำหนดหรือระบุเอาไว้ เสียตั้งแต่แรก
การติดตั้งระบบไฟฟ้า 3 เฟสนั้นมีข้อสังเกตและข้อควรระวังบางประการกล่าวคือ เนื่อง จากระบบไฟฟ้า 3 เฟสที่นำมาใช้จะถูกแยกให้กลายเป็นระบบไฟฟ้าเฟสเดียว 3 ชุดเพื่อนำมาใช้ งานกับอุปกรณ์ไฟฟ้าตามจุดต่างๆ ถ้าไฟฟ้าแต่ละสายที่แยกไปใช้งานตามจุดต่างๆ นั้นมีปริมาณการ ใช้งาน ( load ) ที่สมดุลกันหรือใกล้เคียงก็ย่อมจะเป็นการประหยัดค่าไฟฟ้าได้ดี แต่ถ้าปริมาณการ ใช้งานในแต่ละสายไม่สมดุลกันหรือแตกต่างกันมาก สายที่มีปริมาณการใช้งานสูงก็จะเสียค่าไฟฟ้า มากเนื่องจากต้องเสียค่าไฟฟ้าในอัตราที่สูงขึ้นโดยคิดในอัตราก้าวหน้าตามปริมาณการใช้ไฟฟ้า ทำ ให้ค่าไฟฟ้าโดยส่วนรวมพลอยสูงขึ้นไปด้วย อย่างเช่นการที่สายไฟสายหนึ่งถูกนำไปใช้กับเครื่อง ปรับอากาศหรือเครื่องทำน้ำร้อนหลายๆ เครื่อง ในขณะที่อีกสองสายถูกนำไปใช้กับดวงไฟและปลั๊ก ไฟเพียงไม่กี่จุดเช่นนี้แล้วสายที่มีปริมาณการใช้งานสูงก็จะทำให้ต้องเสียค่าไฟฟ้าในอัตราที่สูง และ ยังอาจก่อให้เกิดปัญหาของการใช้ไฟฟ้าดังกล่าวเพื่อให้ปริมาณการใช้ไฟฟ้าในแต่ละสายเฉลี่ยใกล้เคียง กันหรือสมดุลกัน จะช่วยให้เกิดประสิทธิภาพในการใช้งาน ป้องกันไม่ให้สายไฟบางสายต้องรับ ภาระในการใช้งานมากเกินไป ทำให้เกิดความปลอดภัยในการใช้งานและช่วยให้สามารถประหยัดค่า ไฟฟ้าอย่างได้ผลดีอีกด้วย
อีกประเด็นหนึ่งที่สำคัญและควรต้องระวังอย่างยิ่งก็คือ การแยกระบบไฟฟ้า 3 เฟสออกเป็น 3 ชุดเพื่อนำไปใช้งานตามจุดต่างๆ นั้น สายไฟแต่ละคู่ที่เดินไว้สำหรับการใช้งานตามจุดต่างๆ นั้นจะต้องเป็นระบบไฟฟ้าเฟสเดียวเท่านั้น นั่นคือสายไฟแต่ละคู่ที่เดินแยกออกมาจะต้องมีสายไฟ เพียงเส้นเดียวเท่านั้นที่มีกระแสไฟฟ้าไหลอยู่ ส่วนอีกเส้นหนึ่งจะต้องไม่มีกระแสไฟฟ้า เป็นอย่าง นี้คู่กันเสมอ และจะต้องไม่เดินสายที่มีกระแสไฟฟ้าไหลอยู่ทั้ง 2 เส้นคู่กันเป็นอันขาดเพราะจะทำ ให้แรงดันไฟฟ้า ณ จุดนั้นกลายเป็น 380 โวลต์ ซึ่งจะมีผลทำให้ดวงไฟและอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ที่ใช้งาน ณ จุดนั้นเกิดการชำรุดเสียหาย และยังอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้อีกด้วย ฉะนั้นหลัง จากการเดินสายไฟภายในบ้านควรมีการทดลองสายไฟที่เดินไว้ตามจุดใช้งานทุกจุดอย่างถี่ถ้วนว่าเป็น ระบบไฟฟ้าเฟสเดียวเพื่อป้องกันปัญหาและอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้

Popular Posts